การเฝ้าระวังเนื้อหารายการผิดกฏหมายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ทำอย่างไรได้บ้าง?

ถ้าเจอเนื้อหารายการที่ก่อให้เกิดความสับสนยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างความแตกแยก กระทบต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี ลามกอนาจาร เสื่อมทรามในจิตใจ เราในฐานะผู้บริโภคสามารถจดรายละเอียด และแจ้งร้องเรียนได้เพราะถือเป็นการกระทำที่ผิดพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 37

เมื่อเจอเนื้อหาที่เข้าข่ายผิดกฏหมาย
• สื่อถึงการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
• มีการวิพากษ์วิจารณ์ และมีการกล่าวพาดพิงถึงองค์กรระดับประเทศต่างๆ ด้วยถ้อยคำไม่สุภาพ หยาบคาย ซึ่งมีลักษณะยุยงให้ผู้รับชมเกิดความรู้สึกด้านลบต่อองค์กร
• การใช้คำพูดที่หยาบคายหรือการนำเทปบันทึกภาพที่มีการใช้ถ้อยคำที่หยาบคายหรือการนำเทปบันทึกภาพที่มีการใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย รุนแรง มีการกล่าวถึงบุคคลที่ 3 ด้วยถ้อยคำที่หยาบ
• การเชิญแขกรับเชิญที่มีความขัดแย้งกันมาร่วมรายการ ซึ่งแขกรับเชิญมีการใช้คำหยาบ และส่อไปในทางเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย หรือแสดงกิริยาท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกเท้าคล้ายจะถีบใบหน้าพิธีกร หรือแขกรับเชิญท่านอื่นๆ
• การนำเสนอคดีฆ่าหั่นศพที่มีการเปิดคลิปเสียงครางคล้ายการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ต้องหา ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม แม้ผู้ดำเนินรายการจะสั่งให้ปิดเสียงตอนท้ายแล้วก็ตาม

จดรายละเอียด
• ชื่อช่องรายการ
• ชื่อนิติบุคคล/ชื่อผู้รับในอนุญาต (ถ้าทราบ)
• วัน เดือน ปี ที่ออกอากาศ
• ชื่อรายการ/ชื่อผลิตภัณฑ์ (เข้าข่ายกระทำผิดตามกฏหมาย)
• เนื้อหาที่พบ (ข้อความต่างๆ)

หากพบเจอ แจ้งสายด่วน กสทช. 1200 มาร่วมปกป้องสิทธิของผู้บริโภคสื่อ ป้องกันสื่อไม่สร้างสรรค์ เฝ้าระวังเนื้อหารายการผิดกฏหมาย