79. ผู้ที่มีข้อจำกัดด้านร่างกายจะเข้าถึงสื่อได้อย่างไร

การเข้าถึง (Accessibility) ข้อมูลข่าวสารของคนที่มีความบกพร่องทางการเห็นหรือคนที่มีปัญหาการได้ยิน มีวิธีการหลักๆ คือ

  1. การมีคำอธิบาย (Closed Captioning) จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีความบกพร่องด้านการได้ยิน ซึ่งในปัจจุบันสามารถซ่อนคำอธิบาย เพื่อไม่ให้เป็นที่รำคาญสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการได้ด้วย และมีคุณสมบัติพิเศษ คือ เป็นคำบรรยายทุกเสียงที่หูคนปกติจะได้ยิน เช่น นกร้อง รถยนต์ ฯลฯ ซึ่งคำบรรยายใต้ภาพโดยปกติจะบรรยายเฉพาะบทสนทนาเท่านั้น
  2. การมีเสียงอธิบายภาพ (Audio Description) จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนที่มีความบกพร่องด้านการเห็น เพราะเป็นการใส่เสียงบรรยายที่เพิ่มเติมเข้าไป เพื่อบรรยายรายละเอียดที่สำคัญของภาพ ซึ่งไม่อาจเข้าใจได้ด้วยการใช้เสียงประกอบหลักเท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มการบรรยายด้วยเสียงเฉพาะในช่วงที่ไม่มีการสนทนา หรือเป็นการบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
  3. การแปลงคำอธิบายเป็นเสียง (Spoken Subtitling) เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนคำอธิบายให้เป็นเสียงโดยอัตโนมัติ ในลักษณะเสียงสังเคราะห์ (Synthetic Speech)
  4. การอธิบายด้วยภาษามือ (Sign Language Subtitling) เป็นประโยชน์ต่อคนพิการด้านการได้ยิน ที่มีความต้องการการอธิบายด้วยภาษามือมากกว่าคำอธิบายที่เป็นตัวอักษร ในรายการทั่วไป