สำนักงาน กสทช. รายงานสภาพตลาดดิจิตอลทีวีเดือนสิงหาคม พบวันเกิดเหตุร้ายราชประสงค์17 ส.ค. คนติดตามช่องเสนอข่าวดันเรตติ้งเพิ่ม สวนทางช่องออกอากาศรายการปกติ

       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า จากรายงานข้อมูลสภาพตลาดกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลเดือนสิงหาคม 2558 ของสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) พบว่า ช่วงเวลา 19.00 น. ของวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2558 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุร้ายบริเวณสี่แยกราชประสงค์ มีประชาชนให้ความสนใจติดตามช่องดิจิตอลทีวีที่ตัดเข้าช่วงข่าวเร่งด่วนระหว่างเวลา 19.00-23.59 น. มากขึ้น ตรงกันข้ามกับช่องดิจิตอลทีวีในบางช่องที่ออกอากาศรายการตามปกติเรตติ้งได้ลดลงเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของสัปดาห์ก่อนทั้งนี้ตั้งแต่เวลา 19.00-23.59 น. ถือเป็นช่วงเวลา Primetime ที่มีการนำเสนอละครและรายการวาไรตี้เพื่อความบันเทิงเป็นหลักและเป็นช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้รับชมมากที่สุดของวัน แต่เมื่อเกิดเหตุร้ายบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เรตติ้งในช่องที่เสนอรายการปกติได้ลดลง โดยเรตติ้งเรตติ้งตั้งแต่เวลา 19.00-23.59 น. ลดเหลือ และพบว่าช่วงเวลา 21.00-21.59 น. เรตติ้งลดลงมากสุด จากเรตติ้งในช่วงเวลาเดียวกันสัปดาห์ก่อน ส่วนช่อง 3 และ ช่อง 7 เรตติ้งไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แม้ว่าจะมีการรายงานข่าวหรือไม่ก็ตามส่วนหนึ่งเป็นไปได้ว่าฐานผู้ชมค่อนข้างสูง และความนิยมค่อนข้างเสถียร อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาฝั่งช่องที่มีการรายงานข่าวเหตุการณ์ระเบิด ทั้งถ่ายทอดสด และประมวลภาพให้ประชาชนได้ติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ช่องเนชั่นทีวี ช่องไทยรัฐทีวี ช่อง TNN24 ช่องสปริงนิวส์ ช่องไทยพีบีเอส และช่องอมรินทร์ทีวี พบว่าเรตติ้งกลับเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของสัปดาห์ก่อน โดยช่องเนชั่นทีวี และไทยรัฐทีวี เรตติ้ง เพิ่มสูงขึ้น 4 เท่า ไทยรัฐทีวี เรตติ้งเพิ่มเป็น 1.111 จาก 0.276 เนชั่นทีวี เรตติ้งเพิ่มเป็น 0.481 จาก 0.113 ช่อง TNN 24 เรตติ้งเพิ่มเป็น 0.19 จาก 0.079 ช่องสปริงนิวส์ เรตติ้งเพิ่มเป็น 0.133 จาก 0.065 ช่องไทยพีบีเอส เรตติ้งเพิ่มเป็น 0.412 จาก 0.233 และอมรินทร์ทีวี เรตติ้งเพิ่มเป็น 0.449 จาก 0.12 จากสถานการณ์วันที่ 17 สิงหาคม 2558 จึงสามารถอธิบายได้ในมุมหนึ่งว่า พฤติกรรมผู้ชมโทรทัศน์เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามสถานการณ์ หรือประเด็นความสนใจ การรายงานข่าวอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ไม่ปกติ ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ฉะนั้นอาจสะท้อนได้ว่าการอยู่รอดของผู้ประกอบการช่องรายการโทรทัศน์รายใหม่จึงขึ้นอยู่กับว่าได้นำเสนอเนื้อหารายการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่ เนื่องจากหากนำเสนอเนื้อหารายการได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ได้ยึดติดกับตัวช่องรายการใดรายการหนึ่ง ผู้บริโภคกลุ่มนี้ย่อมพร้อมที่จะเปิดรับช่องรายการใหม่ ๆ ที่นำเสนอเนื้อหาได้ตรงกับความต้องการ จึงเป็นการสร้างโอกาสเพิ่มความนิยมเพื่อให้อยู่รอดในอุตสาหกรรมต่อไปได้

Contact