มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ กลไกประสานงานระดับภาคของเครือข่ายผู้บริโภคในระดับภาค 5ภาค ร่วมแถลงผลการดำเนินงานโครงการเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นระยะเวลา 6 เดือน ช่วง กรกฎาคม 2558 –ธันวาคม2558

       วันนี้ 15 ก.พ. 2559 ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ซึ่งประกอบด้วยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค 12 จังหวัด และกลไกประสานงานระดับภาคของเครือข่ายผู้บริโภคในระดับภาค 5ภาค ได้ร่วมแถลงผลการดำเนินงานโครงการเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นระยะเวลา 6 เดือน ช่วง กรกฎาคม 2558–ธันวาคม 2558  พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทางทีวีดาวเทียม ร้อยละ 100 สื่อวิทยุร้อยละ 95 และดิจิตอลทีวีร้อยละ 32 นาย พชร แกล้วกล้า ผู้รับผิดชอบโครงการเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า โครงการนี้  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภค12 จังหวัด ได้ดำเนินการเฝ้าระวังสื่อวิทยุในเดือนสิงหาคมและธันวาคม 58 จำนวน 40 คลื่น กับคลื่นหลัก 4 คลื่น และพบการโฆษณาที่เข้าข่ายละเมิดกฎหมายถึง38คลื่น มีผลิตภัณฑ์ถึง 168ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ อาหาร 76 ผลิตภัณฑ์ ยา 60 ผลิตภัณฑ์ และเครื่องสำอาง 72 ผลิตภัณฑ์  มีเพียง 2 คลื่นที่ไม่พบโฆษณาผิดกฎหมายในครั้งนี้คือ คลื่น FM97.25 MHz อสมท. จังหวัดพะเยาและคลื่น FM 103.50 MHz เพชรภูมิเรดิโอ จังหวัดเพชรบุรี  ด้านคลื่นของตำรวจและทหาร ครั้งนี้มีการเฝ้าระวังจำนวน 3 คลื่น ได้แก่ FM 92.75 MHz สถานีกองทัพบกค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี FM 105.0 MHz  วิทยุ ตชด. จ.ยโสธร (ฟังที่ร้อยเอ็ด) และ FM 106.25สถานีตำรวจภูธร ภาค 5 จังหวัดพะเยา ยังมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายผิดกฎหมายอยู่เช่นเดิม สำหรับสื่อโทรทัศน์ มีการเฝ้าระวังในสองช่องทาง คือ ทีวีดิจิตอล กับทีวีดาวเทียม โดยได้เฝ้าระวังดิจิตอลทีวีจำนวน 22 ช่อง พบว่ามีเนื้อหาโฆษณาเข้าข่ายผิดกฎหมาย 7 ช่อง พบการโฆษณาถึง 25 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นอาหาร 12 ผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง 11 ผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ  (คลินิก )2 ผลิตภัณฑ์  ขณะที่ทีวีดาวเทียมมีการเฝ้าระวังเพียงจังหวัดเดียว คือ จังหวัดสตูล เป็นจำนวน  2 ช่องผ่านกล่อง PSI คือช่อง 134Smart TV และช่อง 135 ไทยสเตชั่น พบการโฆษณาที่เข้าข่ายผิดกฎหมายของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 13 ผลิตภัณฑ์ นางสาวจิตนา ศรีนุเดช ผู้แทนกลไกภาคอีสานและเจ้าหน้าที่สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จากการโฆษณาทางวิทยุ พบว่า ภาคอีสาน มีการโฆษณายาเข้าข่ายผิดกฎหมายมากที่สุด เช่นกลุ่มผลิตภัณฑ์ตรา นิกรเทคโนการเกษตร ตรา โคเทียมเกวียน ตราเทียนทองคู่ ตราคุณสัมฤทธิ์ และตรา ป. 94 เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบโฆษณาอันตรายอีกหลายตัว ได้แก่ ซีซี-มัยซีน 500 เอ็น-เซ่น แท็บ กาโน่สเป็ค 500 ป็อก109 ดีไวท์ ภาคเหนือจะมีการโฆษณาในสัดส่วนใกล้เคียง ทั้งอาหารและยา เครื่องสำอาง เราพบผลิตภัณฑ์หลายตัวที่โฆษณาในภาคอีสานในภาคเหนือด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ ตรา ดร. นิกร ตาอินตา หรือตรานิกรเทคโนการเกษตร ด้านภาคตะวันตกโฆษณาอาหารเข่าข่ายผิดกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตังถั่งซาร์น อมรันต์ –ตรีผลา และ BGM ซอฟเจล ฯลฯ ส่วนภาคใต้พบโฆษณาอาหารและเครื่องสำอางมากคล้ายกับกรุงเทพฯ ผลิตภัณฑ์ที่พบ เช่น ตังถั่งซาร์น  เบลล่า ยาน้ำทวิน  กลุ่มผลิตภัณฑ์วี-กิ๊ฟ ฯลฯ  ข้อมูลชุดนี้ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่หน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนร่วมกันในการจัดการวางแผนโฆษณาในพื้นที่ของตนเอง เช่นในภาคอีสานคงต้องเน้นเรื่องยาเป็นพิเศษ ขณะที่ภาคใต้ต้องเน้นเครื่องสำอาง โดยมีอาหารเป็นจุดร่วมที่ต้องดำเนินร่วมกันของทุกภาค นอกจากนี้เราพบว่ามีผลิตภัณฑ์กว่า 34 ผลิตภัณฑ์ ที่มีความถี่ในการโฆษณาสูง และยังพบโฆษณาผลิตภัณฑ์ ที่มีปัญหาในอดีต และโฆษณาอาจไม่ได้รับอนุญาตอีกกว่า 16 ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้นายวิทยา ทาแก้ว ผู้แทนกลไกภาคเหนือและเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนสมาคมชีวิตดี จังหวัดลำปาง กล่าวว่า การเฝ้าระวังการโฆษณาทางดิจิตอลทีวี ที่พบการโฆษณาเข้าข่ายผิดกฎหมาย จำนวนทั้งสิ้น 7 สถานี จาก 22 สถานี  ประกอบด้วยช่อง 3HD ,ททบ 5HD, 8 MCOT HD,ไทยทีวี ช่อง 17, Voice TV ช่อง 21 และ MONO29 ด้านการเฝ้าระวังทางทีวีดาวเทียม พบโฆษณา เข้าข่ายผิดกฎหมายถึง100%เป็นการโฆษณาอาหารทั้งหมด จำนวน 13 ผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ nessara ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอสพี ไฟเบอร์ ฯลฯ นายสุนทร สุริโยผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า การเฝ้าระวังที่นำเสนอไป ทำให้โครงการได้ร่วมกับ กสทช. และ อย.ในการจัดหาเวทีหารือความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการโครงข่าย(ทีวีดาวเทียม) เมื่อ พ.ย. 2558 นำมาซึ่งความร่วมมือในการทดลองระบบแจ้งข่าว เพื่อถอดโฆษณาที่เข้าข่ายกฎหมายผ่านกรุ๊ปไลน์ภายใน 7 วัน และหากเกิน 7วัน และหากเกิน 7 วัน  และเรื่องจะดำเนินการต่อไปโดยเจ้าหน้าที่ อย. และ กสทช.ทันที ซึ่งก็มีการเฝ้าระวังไปแล้ว นับตั้งแต่ 19ม.ค.59-10 ก.พ.59 มีจำนวนเรื่องที่ส่งไปจำนวน 27 เรื่องประกอบด้วย 15 ช่องทีวีดาวเทียม 1 ช่องดิจิตอลทีวี 18 ผลิตภัณฑ์และเรื่องทั้งหมดถูกจัดการภายในระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ได้เสนอให้ กสทช. เร่งรัดให้ผู้ประกอบการมีระบบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ อย่างน้อยให้ใกล้เคียงกันกับที่เคยมีในช่องทีวีเดิมตอนที่แพร่ภาพแบบแอนะล็อก และให อย.เร่งรัดดำเนินการเรื่องการเปิดฐานข้อมูลขออนุญาตโฆษณาให้คณะทำงานชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาโฆษณาผิดกฎหมายสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการคัดกรองโฆษณาก่อนนำออกอากาศได้ ขอให้มีการรวบรวมดำเนินคดีที่เคยผ่านมาในเรื่องโฆษณาไว้ในระบบฐานข้อมูลนี้ด้วย เพื่อให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่เคยมีปัญหาและปัจจุบันยังเคยมีปัญหาอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความสำเร็จในการทำความร่วมมือกับ สสจ. กสทช. ภาคและส่วนราชการอื่น คือ เพชรบุรีโมเดล ซึ่งโฆษณาผิดกฎหมายทางสื่อวิทยุในจังหวัดเพชรบุรีลดลงอย่างมาก

Contact