เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อชี้ โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ยังเกลื่อนเรียกร้อง อย. เร่งรัดเปิดใช้ระบบฐานข้อมูลการอนุญาตโฆษณาสสจ. – กสทช. ภาค อย่ากลัวการบังคับใช้กฎหมาย

       เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 59 ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อซึ่งประกอบด้วยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค 12 จังหวัด และกลไกประสานงานระดับภาคของเครือข่ายผู้บริโภคในระดับภาค 5 ภาค ได้ร่วมกันแถลงผลการดำเนินงานโครงการเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม 58 ถึง ธันวาคม 59) พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทางทีวีดาวเทียม ร้อยละ 100 สื่อวิทยุร้อยละ 95 และดิจิตอลทีวีร้อยละ 32 นายพชร แกล้วกล้า ผู้รับผิดชอบโครงการเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า โครงการนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภค 12 จังหวัดได้ดำเนินการเฝ้าระวังสื่อวิทยุในเดือนสิงหาคม และธันวาคม 58 จำนวน 40 คลื่น แบ่งเป็นวิทยุธุรกิจ 36 คลื่น กับ คลื่นหลัก 4 คลื่น และพบการโฆษณาที่เข้าข่ายละเมิดกฎหมายถึง 38 คลื่น มีผลิตภัณฑ์ถึง 168 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ อาหาร 76 ผลิตภัณฑ์ ยา 60 ผลิตภัณฑ์ และเครื่องสำอาง 32 ผลิตภัณฑ์ มีเพียง 2 คลื่นที่ไม่พบการโฆษณาผิดกฎหมายในครั้งนี้คือคลื่น FM 97.25 MHz อสมท. จังหวัดพะเยา และคลื่น FM 103.50 MHz เพชรภูมิเรดิโอ จังหวัดเพชรบุรี ด้านคลื่นของตำรวจและทหาร ครั้งนี้มีการเฝ้าระวังจำนวน 3 คลื่น ยังคงพบว่าทั้งสามคลื่นได้แก่ FM 92.75 MHz สถานีวิทยุกองทัพบก ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี, FM 105.0 MHz วิทยุ ตชด. จ.ยโสธร (ฟังที่ร้อยเอ็ด) และ FM 106.25 MHz สถานีวิทยุตำรวจภูธร ภาค 5 จังหวัดพะเยา มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายผิดกฎหมายอยู่เช่นเดิม สำหรับสื่อโทรทัศน์ มีการเฝ้าระวังในสองช่องทางคือ ดิจิตอลทีวี กับ ทีวีดาวเทียม โดยได้เฝ้าระวังดิจิตอลทีวีจำนวน 22 ช่อง พบมีเนื้อหาโฆษณาเข้าข่ายผิดกฎหมาย 7 ช่อง พบการโฆษณาถึง 25 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นอาหาร 12 ผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง 11 ผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ (คลินิก) 2 ผลิตภัณฑ์ ขณะที่ทีวีดาวเทียมมีการเฝ้าระวังเพียงจังหวัดเดียวคือจังหวัดสตูล เป็นจำนวน 2 ช่องผ่านกล่อง PSI คือช่อง 134 Smart TV และช่อง 135 ไทย สเตชั่น พบการโฆษณาที่เข้าข่ายผิดกฎหมายของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน  13 ผลิตภัณฑ์ นางสาวจินตนา ศรีนุเดช ผู้แทนกลไกภาคอีสานและเจ้าหน้าที่สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังการโฆษณาทางวิทยุ พบว่า ภาคอีสาน มีการโฆษณายาเข้าข่ายผิดกฎหมายมากที่สุด เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ตรา นิกรเทคโนการเกษตร ตราโคเทียมเกวียน ตราเทียนทองคู่ ตราคุณสัมฤทธิ์ และ ตรา ป.94 เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบการโฆษณายาอันตรายอีกหลายตัว ได้แก่ ทีซี-มัยซิน 500 เอ็น-เซ่น แท็บ กาโน่สเป๊ค 500 ป็อก 109 ดีไวท์ ภาคเหนือจะมีการโฆษณาในสัดส่วนใกล้เคียงกันทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอาง เราพบผลิตภัณฑ์หลายตัวที่โฆษณาในภาคอีสานที่มีการโฆษณาในภาคเหนือด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ ตรา ดร.นิกร ยาอินตา หรือ ตรา นิกรเทคโนการเกษตร ด้านภาคตะวันตกพบการโฆษณาอาหารเข้าข่ายผิดกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตังถั่งซาร์น อมรันต์-ตรีผลา และ BGM ซอฟเจล ฯลฯ ส่วนภาคใต้พบการโฆษณาอาหารและเครื่องสำอางมากคล้ายกับกรุงเทพฯ ผลิตภัณฑ์ที่พบ เช่น ตังถั่งซาร์น เบลล่า ยาน้ำทวิน กลุ่มผลิตภัณฑ์วี-กิ๊ฟ ฯลฯ ข้อมูลชุดนี้ ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่หน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนร่วมกันในการจัดการโฆษณาในพื้นที่ของตนเอง เช่น ในภาคอีสานคงต้องเน้นเรื่องยาเป็นพิเศษ ขณะที่ภาคใต้ต้องเน้นเรื่องเครื่องสำอาง โดยที่มีอาหารเป็นจุดร่วมที่ต้องดำเนินงานร่วมกันของทุกภาค นอกจากนี้ เราพบว่ามีผลิตภัณฑ์กว่า 34 ผลิตภัณฑ์ ที่มีความถี่ในการโฆษณาสูง (พบมากกว่า 1 จังหวัดหรือจังหวัดเดียวกันแต่พบในหลายคลื่น) เช่น ตังถั่งซาร์น (พบ 5 จังหวัด : เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี สตูล สงขลา และ กทม.), ยาน้ำผสมเขากวางอ่อน ตรา ทวิน (4 จังหวัด : พะเยา เพชรบุรี สงขลา และ กรุงเทพฯ), ผักเม็ดตรา นิวไลฟ์ (3 จังหวัด : ลำปาง, เชียงใหม่, สุราษฏร์ฯ), อมรันต์-ตรีผลา (3 จังหวัด :  เชียงใหม่ กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ), ฯลฯ อีกทั้งยังคงพบการโฆษณาของผลิตภัณฑ์ที่เคยเป็นปัญหาในอดีตทั้ง น้ำเห็ดสกัด ตรา มัชรูมพลัส, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวีเอ็มพลัส, กลุ่มผลิตภัณฑ์ ตรา วีกิ๊ฟ, กลุ่มผลิตภัณฑ์ตราเสือแม่ลูก, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดี-คอนแทค, และซันคลาร่า กับ เจนิฟู้ดส์ อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย เรายังพบผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาโดยอาจไม่ได้มีการขออนุญาตผลิตภัณฑ์อีกกว่า 16 ผลิตภัณฑ์ เช่น สมุนไพรจีน 111 สูตร 3, น้ำแร่อุสึเมะ, แคปซูลเลือดจระเข้ซุปเปอร์พลัส, ครีมเมลาโน, ฯลฯ  และมี 3 ผลิตภัณฑ์ ที่พบว่ามีเลข อย. มากกว่า 1 หมายเลขทั้งที่ชื่อผลิตภัณฑ์เดียวกัน ทั้งหมดเป็นกลุ่มอาหาร ได้แก่ โกเรจินส์-ดี กาแฟวันแฟนโกลด์ และ เคริ่องดื่มผสมสมุนไพร ตรา อินทรา นายวิทยา ทาแก้ว ผู้แทนกลไกภาคเหนือและเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนสมาคมชีวิตดี จังหวัดลำปาง กล่าวว่า การเฝ้าระวังการโฆษณาทางดิจิตอลทีวีที่พบการโฆษณาเข้าข่ายผิดกฎหมาย จำนวนทั้งสิ้น 7 สถานี จาก 22 สถานี ประกอบด้วย ช่อง 3 HD, ททบ. 5 HD, 8, MCOT HD (ช่อง 9), ไทยทีวี (THV) ช่อง 17, Voice TV ช่อง 21, และMONO29 โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่อง 8 เป็นช่องที่พบการทำผิดซ้ำซากต่อเนื่อง ยาวนาน โดยผลิตภัณฑ์ที่พบการโฆษณาที่เข้าข่ายผิดกฎหมายได้แก่กลุ่มอาหารและเครื่องสำอาง และมีผลิตภัณฑ์ที่พบว่ามีการโฆษณาข้ามช่องเพียงผลิตภัณฑ์เดียวคือ คอลลาเฮลท์ (ช่อง 8 กับ ช่อง 9) ด้านการเฝ้าระวังโฆษณาทางทีวีดาวเทียมนั้นพบการโฆษณาที่เข้าข่ายผิดกฎหมายถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นการโฆษณาอาหารทั้งหมด จำนวน 13 ผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ของ Nassara, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอสพี ไฟเบอร์, ไวต้าเซล โกลด์, ฯลฯ นายสุนทร สุริโย ผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังที่นำเสนอไป ทำให้โครงการได้ร่วมกับ กสทช. และ อย. ในการจัดเวทีหารือความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการโครงข่าย (ทีวีดาวเทียม) เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 58 นำมาซึ่งความร่วมมือในการทดลองระบบแจ้งข่าวเพื่อถอดโฆษณาที่เข้าข่ายผิดกฎหมายผ่านกรุ๊ปไลน์ภายใน 7 วัน และหากเกิน 7 วันแล้วเรื่องจะถูกดำเนินการต่อโดยเจ้าหน้าที่ อย. และ กสทช. ทันที ซึ่งก็ได้มีการสุ่มเฝ้าระวังและแจ้งเรี่องเข้าไปบ้างแล้ว นับตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 59 ถึง 10 ก.พ. 59 มีจำนวนเรื่องที่ส่งไปจำนวน 27 เรี่อง ประกอบด้วย 15 ช่องทีวีดาวเทียม 1 ช่องดิจิตอลทีวี 18 ผลิตภัณฑ์ และเรื่องทั้งหมดถูกจัดการภายในระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ได้เสนอให้ กสทช. เร่งรัดให้ผู้ประกอบการมีระบบการกำกับดูแลกันเองที่มีประสิทธิภาพ อย่างน้อยให้ใกล้เคียงกันกับที่เคยมีในช่องฟรีทีวีเดิมตอนที่เป็นการแพร่ภาพแบบอนาล็อก และให้ อย. เร่งรัดดำเนินการเรื่องการเปิดฐานข้อมูลอนุญาตโฆษณาให้คณะทำงานชุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาโฆษณาผิดกฎหมายสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการคัดกรองโฆษณาก่อนนำออกอากาศได้ ทั้งนี้ ขอให้มีการรวบรวมผลการดำเนินคดีที่เคยผ่านมาในเรื่องโฆษณาไว้ในระบบฐานข้อมูลนี้ด้วยเพื่อให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่เคยมีปัญหาและปัจจุบันยังคงมีปัญหาอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความสำเร็จในการทำความร่วมมือกับ สสจ. กสทช. ภาค และส่วนราชการอื่น คือเพชรบุรีโมเดล ที่มีการจัดการโฆษณาโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาร่วม เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้ประกอบการเครือข่ายวิทยุในจังหวัด ทำให้โฆษณาผิดกฎหมายทางสื่อวิทยุในจังหวัดเพชรบุรีลดลงอย่างมาก… ที่มา: http://nbtcrights.com/2016/02/6094

Contact