บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการ ตามประกาศ กสทช. เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์ จากรายการของกิจการโทรทัศน์
บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการตามประกาศ กสทช. เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์
- บังคับใช้กับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิตอล 26 ช่อง แบ่งเป็น
- ช่องสารธารณะ 4 ช่อง ประกอบไปด้วย ช่อง 5, ช่อง NBT, ช่อง Thai PBS, ช่องโทรทัศน์รัฐสภา
- ช่องธุรกิจ 22 ช่อง ประกอบไปด้วย ช่อง 3 Family, ช่อง MCOT Kids & Family, ช่อง TNN24, ช่อง NEW TV, ช่อง Spring News, ช่อง Bright TV, ช่อง VOICE TV, ช่อง Nation TV, ช่อง Work Point, ช่อง True 4 U, ช่อง GMM25, ช่อง Now, ช่อง 8, ช่อง 3 SD, ช่อง MONO 29, ช่อง MCOT HD, ช่อง ONE, ช่องไทยรัฐ TV, ช่อง 3 HD, ช่องอมรินทร์ทีวี, ช่อง 7 HD และช่อง PPTV
- ส่วนคนที่ได้รับประโยชน์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหลัก และกลุ่มรอง
กลุ่มหลัก - คนตาบอด คนหูตึง คนหูหนวก คนพิการทางการสื่อความหมาย
กลุ่มรอง – ผู้ใกล้ชิดคนพิการกลุ่มหลัก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มนิสิตนักศึกษาพิการที่มีปัญหาในการพูดและใช้ภาษา หรือกลุ่มคนต่างชาติที่อพยพเข้าเมือง
- บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการ แบ่งเป็น 3 บริการ ประกอบด้วย
1. บริการเสียงบรรยายภาพ (Audio Description หรือ AD) คือ บริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีคำบรรยายภาพด้วยเสียงหรือจัดให้มีบริการเสียงบรรยายภาพเพิ่มเติมเป็นพิเศษในบางช่วงเวลาของรายการที่ไม่มีเสียงบรรยายตามปกติ เพื่อให้คนพิการทางการเห็น หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสายตาเข้าถึงหรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ได้มากขึ้น
2. บริการคำบรรยายแทนเสียง (Closed Caption หรือ CC) คือ บริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีคำบรรยายเป็นอักษรวิ่ง หรือตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพ หรือทางเลือกอื่นที่แสดงขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่รายการมีเสียงพูด หรือเสียงประกอบเกิดขึ้น และผู้รับชมสามารถเปิดหรือปิดบริการดังกล่าวด้วยตนเองได้ ทั้งนี้ เพื่อให้คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ได้มากขึ้น
3. บริการล่ามภาษามือ (Sign Language หรือ SL) คือ บริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีการบรรยายด้วยภาษามือในช่วงเวลาเดียวกับที่รายการมีเสียงพูด หรือเสียงประกอบเกิดขึ้น เพื่อให้คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อ ความหมาย เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ได้มากขึ้น - ผู้ประกอบกิจการฯ ต้องทำบริการในรายการข่าวสาร หรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ดังนี้
1. รายการข่าวสาร
2. รายการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
3. รายการส่งเสริมการศึกษา จริยธรรม ศิลปะ วัฒนธรรม
4. รายการให้ความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
*สามารถอ่านประกาศฯ เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (ฉบับที่ 4) เพิ่มเติม ได้ที่นี่ >> https://broadcast.nbtc.go.th/law/dwl.php?id=NTkwOTAwMDAwMDAx&file=ZGF0YS9kb2N1bWVudC9sYXcvZG9jL3RoLzU5MDkwMDAwMDAwMS5wZGY=
อย่างไรก็ตาม “ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิตอลต้องรายงานผลการจัดทำบริการโทรทัศน์สำหรับคนพิการ ต่อ กสทช. ทุกปี ตามที่กฎหมายกำหนด หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศฯ จะมีโทษตามกฎหมายต่อไป”
Categories
Contact