สำนักงาน กสทช. จัดงานเสวนา Building a Collaborative Ecosystem for Non-Terrestrial Network Success หรือ การสร้างความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศของเทคโนโลยี Non-Terrestrial Network (NTN)

วันที่ 16 กันยายน. 2567 สำนักงาน กสทช. จัดงานสัมมนาเรื่อง Building a Collaborative Ecosystem for Non-Terrestrial Network Success หรือ การสร้างความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศของเทคโนโลยี Non-Terrestrial Network (NTN) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับเทคโนโลยี Non-Terrestrial รวมทั้งบทบาทของ กสทช. และแนวทางการกำกับดูแลและส่งเสริมการพัฒนาของเทคโนโลยี NTN ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. กล่าวว่า การสร้างระบบนิเวศของเทคโนโลยี Non-Terrestrial Network (NTN) ถือเป็นก้าวสำคัญของสำนักงาน กสทช. ในการกำหนดนโยบายและเตรียมตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเทคโนโลยี Non-Terrestrial Network หรือเครือข่ายเหนือพื้นโลก ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและดาวเทียม นับเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เกิดการสร้างรายได้มหาศาลผ่านบริการทั้งในอวกาศและกิจการโทรคมนาคมที่ผ่านมา กิจการดาวเทียมและเครือข่ายภาคพื้นดินดำเนินการแยกกัน แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์นี้ การเพิ่มขึ้นของกลุ่มดาวเทียมส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมอวกาศทั้งต้นทุนที่ต่ำและบริการบรอดแบนด์ที่มีความหน่วงต่ำ ทำให้เทคโนโลยีบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมจะเข้ามาเป็นบริการเสริมเครือข่ายมือถือภาคพื้นดินแบบดั้งเดิม


เมื่อปี 2561 มีการกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีไร้สาย 5G เป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการรวม ระบบระหว่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมและดาวเทียมเป็นหนึ่งเดียว และกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการเชื่อมต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมดาวเทียมและโทรคมนาคมของโลกจะช่วยให้การติดต่อสื่อสารครอบคลุมในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับบริการอย่างทั่วถึงก็จะสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ เทคโนโลยีและการสื่อสารจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น “การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จากการหลอมรวมระหว่างเทคโนโลยีดาวเทียมและเครือข่าย 5G ในครั้งนี้ จะทำให้การสื่อสารดำเนินได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด เทคโนโลยีดาวเทียมจะเข้ามาเป็นบริการเสริม และเป็นการกระตุ้นไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและสร้างโอกาสให้กับทุกคน นอกจากนี้ ยังเป็นการลดต้นทุนของโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี 5G ที่ใช้ร่วมกับเทคโนโลยี NTN ทำให้สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น
อีกทั้งจะช่วยให้เกิดบริการใหม่และการเชื่อมโยงระดับโลกของบริการ IoT” ประธาน กสทช. กล่าว สำหรับเทคโนโลยี NTN ในระดับโลก แบ่งการให้บริการเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. เครือข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียม โดยแต่ละวงโคจร จะมีความครอบคลุม และความหน่วงในการประมวลผลข้อมูลที่แตกต่างกันไป
2. High Altitude Platform Systems (HAPS) สถานีฐานลอยระยะสูง
3. การสื่อสารภาคพื้นกับอากาศยาน (Air-to-Ground Networks) ที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมจราจรทางอากาศกับนักบินนอกจากนี้ เทคโนโลยี NTN เริ่มเข้ามามีบทบาทในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งบริการของ NTN ได้แก่ การให้บริการด้านการติดตาม การตรวจสอบข้อมูลทางการเกษตร การ Roaming การให้บริการ WiFi on Board หรือการนำไปใช้งานในกรณีเกิดภัยพิบัติ จุดเด่นของเทคโนโลยีนี้ คือ การเกิดโครงข่ายทางอากาศ หรือ Airborne Networks ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วการใช้งานอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ที่หลอมรวมการใช้งานด้านโครงข่ายของดาวเทียม และ IMT ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวส่งเสริมให้มีการใช้งาน 5G เพิ่มมากขึ้น ทั้งการใช้งาน IoT ที่หลากหลายและส่งเสริมคุณภาพด้านการสื่อสารให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลาทุกพื้นที่ เป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างรุดหน้า ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวก่อให้เกิดการพัฒนาในหลายอุตสาหกรรม ทั้งด้านการแพทย์ การขนส่ง การบิน ทำให้เกิดระบบ เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีโครงข่ายพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่แข็งแกร่ง


ทั้งนี้ ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี NTN นำมาทั้งโอกาสและความท้าทายที่สำคัญ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานทางทหาร สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และภาคเอกชน ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และผู้ให้บริการดาวเทียม ในการปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือในการนำเอาเทคโนโลยี NTN ไปพัฒนาต่อไป

ที่มา : สำนักงาน กสทช.

Contact