ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ : Digital Intelligence Quotient) คิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี

ในยุคที่ทุกคนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่กับตัวสามารถเข้าถึงสื่อและสังคมออนไลน์ได้อย่างไร้ขอบเขตในทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังสามารถเป็นผู้สร้างและผู้เสพเนื้อหาได้ในคราเดียวกัน การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่รับผิดชอบต่อการเผยแพร่เนื้อหาที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ และเป็นผู้เสพที่รอบรู้และรู้ทัน ไม่เพียงแต่จะนำมาซึ่งสังคมดิจิทัลที่จะเต็มไปด้วยคุณภาพ หากแต่ยังเป็นการสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยต่อทุกเพศทุกวัยในการเข้าถึงซึ่งทักษะสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ตีของการเข้าสังคมสู่ออนไลน์อย่างปลอดภัย ก็คือการสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดีหรือที่เรียกว่า Critical Thinking คือ การหยุดคิดเพื่อวิเคราะห์ แยกแยะว่าเนื้อหาข้อมูลที่ได้รับนั้นมีความถูกต้อง เป็นประโยชน์ หรือเป็นข้อมูลที่บิดเบือน สร้างความเสียหาย หรือผิดไปจากความเป็นจริงซึ่งอาจทำได้โดยการค้นคว้าข้อมูลเดียวกันจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนเชื่อหรือตัดสินใจส่งต่อแชร์ข้อมูลไปยังผู้อื่นเพื่อไมให้ตนเองตกเป็นเครื่องมือของรูปแบบการหลอกลวงต่าง ๆ ในโลกไซเบอร์ หรือเป็นเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จในโลกไซเบอร์ เช่น ข่าวปลอมเว็บปลอม ภาพตัดต่อ เป็นต้น วิธีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างวิจารณญาณที่ดีในการสร้างสรรค์สื่อหรือเสพสื่อในโลกดิจิทัล

1. การฝึกตั้งคำถามกับสื่อที่เสพ
2. ฝึกตั้งคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ เช่น 5 คำถาม : ใครเป็นเจ้าของสื่อ สื่อนำเสนออย่างไร สื่อต้องการสื่อสารกับใคร สื่อต้องการให้รับรู้อะไร สื่อหวังผลอย่างไร
หลัก 3 เข้า : เข้าถึง เข้าใจ และเข้าไปมีส่วนร่วม
3. การเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง
4. เป็นผู้ฟังที่ตึ ฟังอย่างเข้าใจ เอาใจใส่ และเห็นอกเห็นใจ
5. ควรแก้ทีละปัญหา พร้อมเรียนรู้วิธีหลีกเสี่ยงปัญหานั้น ๆ ในอนาคต