เทคโนโลยีการเข้าถึงโทรทัศน์ สำหรับคนพิการทางการได้ยิน

       บริการคำบรรยายแทนเสียงหรือ Caption เทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูลในการรับชมโทรทัศน์สำหรับคนพิการทางการได้ยิน โดยภาพและทางเลือกอื่นที่เป็นข้อความที่ถูกแสดงขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่มีเสียงบรรยายที่อาจเป็นการสนทนา หรือเสียงประกอบอื่น เช่น ดนตรี เสียงหัวเราะ ซึ่งคำบรรยายแทนเสียงนี้จะต้องมีความชัดเจนและไม่กีดขวางการมองเห็นภาพด้วย โดยทั่วไปมักจะอยู่ด้านล่างของหน้าจอโทรทัศน์ หรืออาจให้ตำแหน่งของคำบรรยายบอกที่มาของเสียงในภาพด้วย โดยบริการคำแทนเสียงทั่วไปมี 2 ประเภท คือ บรรยายแทนเสียงแบบปิดและแบบเปิด  Closed Captions (CC) คำบรรยายแทนเสียงแบบปิด สามารถเปิดหรือปิดให้แสดงผลบนหน้าจอได้ โดยมีสัญลักษณ์อักษร CC สามารถพบได้บนโปรแกรมแสดงผังรายการโทรทัศน์หรือบนแผ่น DVD หรือแผ่นบลูเลย์ที่มีบริการ CC Open caption (OC) คำบรรยายแทนเสียงแบบเปิด จะไม่สามารถเปิดหรือปิดการแสดงผลบนหน้าจอโทรทัศน์ได้  Closed Captions (CC) แต่ดั่งเดิมเป็นชื่อเรียกมาตรฐานในการนำเอาคำบรรยายที่เป็นข้อความมาเข้ารหัสแล้วใส่รวมเข้าไปกับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบ NTSC ที่ใช้กันในอเมริกา การแสดงผลที่หน้าจอโทรทัศน์จะกระทำโดยตัวถอดรหัสที่อยู่ในเครื่องรับโทรทัศน์ในระบบตัวรับโทรทัศน์หรือแยกเครื่องถอดรหัสออกมาต่างหาก กฎหมายของอเมริกา The Americans with Disubilities Act กำหนดเครื่องโทรทัศน์ที่ว่างจำหน่ายในตลาดที่มีขนาดหน้าจอตั้งแต่ 13 นิ้วขึ้นไป โดยในประเทศอเมริกาจะต้องมีตัวรับภายในที่สามารถรองรับรับเทคโนโลยี Closed caption โดยผู้ประสงค์จะใช้หรือผู้พิการทางการไดยินสามารถใช้ตัวรับเปิดเข้าไผหาคำบรรยาย และคนทั่วไป ซึ่งไม่ต้องการใช้คำบรรยายก็สามารถทำให้ไม่ปรากฏได้ และอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนรู้จักกันดี นั่นก็คือภาษามือ sign language ภาษาที่ใช้สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน  ที่ใช้มือ สีหน้า และกิริยาท่าทาง ประกอบในการสื่อสารความหมายและถ่ายทอดอารมณ์แทนการพูด ภาษามือของแต่ละชาติมีความแตกต่างกัน เช่นเดียวกับภาษาพูด ตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และลักษณะภูมิศาสตร์ เช่น ภาษามือจีน ภาษามือเมริกัน ภาษามือไทย เป็นต้น โดยในโทรทัศน์เราจะสามรถเห็นจอสี่เหลี่ยมเล็กๆ ด้านขวามือของหน้าจอโทรทัศน์เป็นประจำ โดยมีล่ามภาษามือคอยบรรยายอยู่ ในยุคโทรทัศน์ดิจิตอลเช่นนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้กำหนดให้มีล่ามภาษามืออย่างน้อย ร้อยละ 5 ของสัดส่วนรายการข่าว และสาระที่เป็นประโยชน์ ซึ่งล่ามภาษามือที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) มีอยู่ประมาณ 400 คนในปัจจุบัน ติดตามอ่าน:Audio Description (AD) คืออะไร?