ศึกษา การเปลี่ยนผ่านระบบดิจิตอลทีวีจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและจีดีพีในประเทศเป็นอย่างไร

        เป็นเวลา 1 ปีแล้ว กับการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์แอนะล็อกสู่ดิจิตอลในประเทศไทย โดยสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งระบบดิจิตอลทีวีนอกจากจะทำให้คุณภาพการรับชมมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้แก่ธุรกิจโทรทัศน์สูงขึ้นด้วย จากข้อมูลกรุงเทพธุรกิจ 15 ต.ค. 2558 ได้ระบุว่า สำนักงาน กสทช.ร่วมกับสถาบันความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาผลกระทบของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจไทยที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิตอล ซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและจีดีพีในประเทศ ประกอบด้วย

  1. นโยบายการแจกคูปอง
  2. การเติบโตของรายได้ในกิจการโทรทัศน์
  3. รายได้โครงข่าย (Mux) ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้วางสมมติฐาน ตามระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี

       การบังคับใช้ประกาศฯ หลักเกณฑ์มัสแคร์รี่ของสำนักงาน กสทช. อย่างต่อเนื่องตลอดอายุใบอนุญาต และผลการศึกษาเป็นไปดังนี้ นโยบายการแจกคูปองแลกซื้ออุปกรณ์รับชมดิจิตอล มูลค่า 690 บาท การศึกษาได้วางสมมติฐานอัตราการแลกคูปอง 80% ของจำนวนที่แจก หรือประมาณ 10.09 ล้านใบ เป็นเงิน 7,500 บาท ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการซื้อกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอล 9,400 ล้านบาท และถึงแม้การแจกคูปองมีผลเพียงเล็กน้อย แต่ช่วยจีดีพีขยายตัวเพิ่ม 0.039 % เมื่อเทียบกับกรณีไม่แจกคูปอง และทำให้การผลิตสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัว 0.195% โดยยังดันให้รายได้โฆษณาโต ซึ่งจากการศึกษา พบว่า มูลค่าอุตสาหกรรมโทรทัศน์ฟรีทีวีในปี 2557 คิดเป็นสัดส่วน 78% ของกิจการโทรทัศน์ทั้งหมด ซึ่งจะมีรายได้จากโฆษณาเพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่ากิจการโทรทัศน์เติบโต 17.16% ต่อปี และส่งผลต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ขยายตัว 0.251% ผลักดันจีดีพี ขยายตัว 0.17% และกาลงทุนกิจการโทรทัศน์ ขยายตัว 12.4% ด้านการลงทุนโครงข่ายสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Mux) ของผู้รับใบอนุญาต 4 ราย พบว่าจากการให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล 24 ช่อง จะทำให้เกิดรายได้จากการให้บริการโครงข่าย 1,992 ล้านบาทต่อปี ตลอดอายุใบอนุญาต 15 ปี คิดเป็นมูลค่า 14,285 ล้านบาท กระตุ้น จีดีพีเติบโต 0.004% โดยการประเมินค่าเช่าโครงข่าย ผู้ให้บริการจัดเก็บทีวีดิจิตอลประกอบด้วยความคมชัดปกติ SD ค่าบริการช่องละ 4 ล้านบาทต่อช่องต่อเดือน คิดเป็น 816ล้านบาท ต่อ 17ช่อง ต่อปี แลค่าบริการความคมชัดHD อัตราชิองละ 14 ล้านต่อช่องต่อเดือน คิดเป็น 1,176 ต่อ 7 ช่องเอชดีต่อปี ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 15 ต.ค. 2558