การสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชม โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (ทีวีดิจิตอล)

       การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลยังคงเป็น เรื่องที่ประชาชนคนไทยให้ความสนใจอยู่ ณ เวลานี้ เพราะหลายคนเกิดความสงสัยระหว่างอนาล็อกกับดิจิตอลต่างกันอย่างไร และถ้าหากเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลแล้วจะเกิดผลดีอย่างไรบ้าง…

       สำหรับประเทศไทยแต่เดิมจนถึงปัจจุบันมีการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบภาคพื้นดิน ระบบอนาล็อก (Analog) ซึ่งเป็นการส่งคลื่นความถี่ไปยังเสาหนวดกุ้งหรือก้างปลาตามที่อยู่อาศัยของ ประชาชน และจะสามารถรับชมได้เพียง ๖ ช่องรายการหลักฟรีทีวีเท่านั้น คือ ช่อง ๓ ,๕, ๗, ๙,NBTและ ThaiPBS เพราะโทรทัศน์ระบบอนาล็อกสามารถส่งช่องรายการได้เพียงช่องเดียว แต่เมื่อใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอลจะสามารถออกอากาศได้มากถึง ๘-๒๕ ช่องรายการ พร้อมทั้งมีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม สามารถให้บริการมัลติมีเดียใหม่ๆ และยังช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศ เนื่องจาก ระบบส่งสัญญาณและเครื่องรับโทรทัศน์ระบบดิจิตอลจะประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า มากกว่าระบบอนาล็อกหลายเท่าตัว นอกจากนี้ ทรัพยากรคลื่นความถี่จะได้รับการพัฒนาให้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนยังได้รับบริการที่มีความหลากหลายจากผลของจำนวนช่องรายการที่เพิ่ม ขึ้น ทำให้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารด้วยคุณภาพที่ดีกว่าเดิม จึงทำให้เกิดโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลขึ้น โดยการผลักดันของ สำนักงาน กสทช. เพื่อมุ่งเน้นช่วยเหลือและสนับสนุนให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการ โทรทัศน์ ในระบบดิจิตอลอย่างทั่วถึง โดยใช้คูปองส่วนลด