55. หัวใจสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อคืออะไร

 

คนส่วนใหญ่รับสื่อโดยไม่เคยคิดหรือตั้งถาม ว่าสื่ออะไร มีบทบาทอย่างไร การที่จะเท่าทันสื่อได้ ต้องตระหนักและเข้าใจเรื่องหลักๆ เกี่ยวกับสื่อ ดังนี้

  1. สื่อทั้งหลายล้วนแต่ถูกระกอบสร้างขึ้น ซึ่งไม่ได้สะท้อนความจริงของโลกแบบเรียบง่ายตรงไปตรงมา ด้วยเทคนิค กลวิธีบางอย่าง เช่น มุมกล้อง สี เสียง หรือการตัดต่อ
  2. สื่อสร้างภาพความเป็นจริง ซึ่งสื่อสร้างขึ้น ตีความ สรุป และสร้างให้ เราเห็นภาพดังกล่าว ดังนั้นสื่อจึงเป็นแหล่งสร้างภาพความเป็นจริง (ที่อาจไม่จริงเสมอไป)
  3. เราสามารถต่อรองกับสื่อ ซึ่งขึ้นกับความต้องการส่วนตัว ความพึงพอใจตามเชื้อชาติ เพศ วัฒนธรรม จุดยืนทางศีลธรรม และปัจจัยอื่นๆ ที่แต่ละคนอาจเข้าใจ ตีความหมาย หรือมีการโต้ตอบต่อสื่อสารต่างกันไป
  4. สื่อมีนัยทางการค้าแอบแฝงอยู่ การผลิตสื่อส่วนหนึ่งเพื่อธุรกิจและกำไร เราจึงควรพิจารณาถึงอิทธิพลทางการค้าที่มีในสื่อ และพิจารณาว่าการนำเสนอและเผยแพร่ออกไป เพื่อต้องการให้เลือกใช้สินค้าหรือบริการใช่หรือไม่
  5. สื่อมีนัยทางอุดมการณ์และค่านิยม สื่อทุกสื่อล้วนนำเสนอวิถีการดำเนินชีวิตและคุณค่าบางอย่าง เช่น สื่อทางธุรกิจก็มักจะถ่ายทอดค่านิยม ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้เราเห็นว่าสินค้าหรือบริการนั้นเป็นเรื่องน่านิยมความขาวใสเป็นค่านิยมของความสวยเท่านั้น ฯลฯ
  6. สื่อมีนัยทางสังคมและการเมือง สื่อมีอิทธิพลสูงมากในทางการเมืองและสารมารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น โทรทัศน์มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง การตระหนักถึงสิทธิของพลเมือง
  7. รูปแบบและเนื้อหาของสื่อมีความแตกต่างตามแบบฉบับของตัวเอง การใช้สื่อต่างประเภทเพื่อสื่อสารเรื่องเดียวกัน ความหมายที่ออกมานั้นย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ หรือแม้แต่สื่อประเภทเดียวกันยังมีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันได้
  8. สื่อแต่ละประเภทมีรูปแบบทางสนุทรียภาพเฉพาะตัว การรู้เท่าทันสื่อมิได้หมายความแต่เพียงการดูความหมายของสาร และนัยต่างๆ ที่อยู่ในสังคมและวัฒนธรรมของเรา แต่ยังหมายถึงการรู้จักชื่นชมกับสุนทรียภาพต่างๆ ในสื่อด้วย