กสทช. ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และเครือข่าย 13 สถาบัน จัดการประชุมและประเมินการพัฒนาเนื้อหารู้เท่าทันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์: ประโยชน์และการนำไปใช้ในระดับอุดมศึกษา

       เมื่อวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ( กสทช.)ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และเครือข่าย 12 สถาบัน จัดการประชุมและประเมินการพัฒนาเนื้อหารู้เท่าทันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์: ประโยชน์และการนำไปใช้ในระดับอุดมศึกษา ณ ศาลาชื่นอารมณ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

       โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวต้อนรับ , ผศ.ดร.ฐานะวัฒนา สุขวงศ์ ประธานโครงการ กล่าวรายงาน และคุณอิสสะรี ฉัตรโชติกวงศ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสทช.) กล่าวเปิดงาน

       จากนั้นได้มีการถอดบทเรียน “การรู้เท่าทันสื่อ” :ประโยชน์และการนำไปใช้ โดยอาจารย์ผู้สอนจาก 13 สถาบัน “การประเมินผลการพัฒนาเนื้อหารู้เท่าทันสื่อ :ประโยชน์และการนำไปใช้” โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และสุดท้ายมีการบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อ” โดย ดร.เฉลิมชัย พันธุ์เลิศ นักวิชาการสำนักมาตรฐาน การศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

       โดยมหาวิทยาลัย 12 สถาบัน ที่เข้าร่วมวิจัยพัฒนาเนื้อหารู้เท่าทันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ : ประโยชน์และการนำไปใช้ในระดับอุดมศึกษา ได้เปิดเผยผลการวิจัย ดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ” ไว้ในวิชากฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพ นิเทศศาสตร์ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 86 คน ซึ่งผลการวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก และความเข้าใจเรื่องการเท่าทันสื่อยังอยู่ในระดับปานกลาง
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ” ไว้ในวิชาสื่อมวลกับสังคม นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ โดยได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 50 คน ซึ่งผลวิจัย นักศึกษามีความรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลางและมีความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก
  3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ” ไว้ในวิชารู้เท่าทันสื่อ สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสาร โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 168 คน ซึ่งผลการวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องเท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลางและมีความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้บรรจุ“รู้เท่าทันสื่อ” ไว้ในวิชาการสื่อสารระหว่างบุคคลและกลุ่มสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ(นิเทศศาสตร์)สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 222 คน ซึ่งจากผลวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลาง และความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่อก็อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน
  5. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ”ไว้ในวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ ด้านการพัฒนาคุณภาพของคนและสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1,3,4 จำนวน 97 คน โดยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลางและมีความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน
  6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ” ไว้ในวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่1-4 จำนวน 259 คน จากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมากและมีความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
  7. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ”ไว้ในวิชาการสื่อข่าวและการเขียนข่าวเบื้องต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2,4 จำนวน 36 คน จากผลการวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลาง และความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ” ไว้ในวิชาการรู้เท่าทันสื่อและการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 39 คน จากผลการวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลาง และความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก
  9. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ” ไว้ในวิชาการรู้เท่าทันสื่อข่าวสารด้านการจัดการวัตกรรมสื่อสารสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 44 คนจากผลการวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก และความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก
  10. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ”ไว้ในวิชาการเขียนสร้างสรรค์ในงานนิเทศศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นนักศึกษาชั้นปีที่3 จำนวน 30 คน จากผลวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมากและมีความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก
  11. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ”ไว้ในวิชาการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่1-4 จำนวน 140 คน จากผลการวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมากและมีความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก ด้วยเช่นกัน
  12. มหาวิทยาลัยรังสิต ได้บรรจุ “รู้เท่าทันสื่อ”ไว้ในวิชาความรอบรู้เรื่องสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 70 คน จากผลวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมากและมีความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก
  13. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้บรรจุ“รู้เท่าทันสื่อ”ไว้ในวิชา การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่องานนิเทศศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาปีที่ 1 จำนวน 55 คน ซึ่งผลวิจัยนักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมากและมีความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก

ทั้งนี้สำหรับรูปแบการสอน “รู้เท่าทันสื่อ”และข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น เราจะนำมาเสนอในครั้งต่อไป