การเฝ้าระวังโฆษณาผิดกฏหมายผู้บริโภคสื่อฯทำอย่างไรได้บ้าง?

การเฝ้าระวังโฆษณาผิดกฏหมาย ผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ทำอย่างไรได้บ้าง?
หากเรากำลังนั่งดูทีวี หรือฟังวิทยุ แล้วพบเจอโฆษณาอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะโอ้อวดเกินจริง เราในฐานะผู้บริโภคสื่อสามารถมีส่วมร่วมในการติดตามเฝ้าระวังและร้องเรียนได้ เพราะถือเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคเข้าข่ายผิดกฎหมายตามประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555

ตัวอย่างจากการเฝ้าระวังจริงในเรื่องการนำเสนอข้อความที่เข้าข่ายผิดกฏหมาย เช่น
• กินแล้วหุ่นดี ผิวขาว สวย หายจากโรคความดัน แก้ปวดเมื่อย เบาหวาน กระดูก และข้อต่อต่างๆ
• ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการบำรุงร่างกาย สามารถรักษาอาการปวดเข่า ปวดขา ไมเกรน ไขมันในเส้นเลือด ไทรอยด์ อัมพฤกษ์ ไต เบาหวาน หรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆที่      รักษาไม่ได้
• กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง ผลิตภัณฑ์ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมัน ลดคอเรสเตอรอล
• คอลลาเจนช่วยบำรุงข้อเข่า ข้อเท้า กระดูก กินเพียง 2สัปดาห์ทำให้กระและเส้นผมแข็งแรงขึ้น

สามารถจดรายละเอียดเพื่อทำการร้องเรียนเมื่อรับชม รับฟังโฆษณาที่เข้าข่ายผิดกฏหมายได้ดังนี้
• ชื่อช่องรายการ
• ชื่อนิติบุคคลหรือชื่อผู้รับใบอนุญาต(ถ้าทราบ)
• คลื่นความถี่
• วัน เดือน ปี ที่ออกอากาศ
• ชื่อรายการหรือชื่อผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายกระทำผิดตามกฏหมาย
• เนื้อหาโฆษณาที่พบ (ข้อความต่างๆ)

หากพบเจอการโฆษณาที่มีเนื้อหาผิดกฏหมายดังเช่นตัวอย่างดังกล่าว สามารถแจ้งสายด่วน อย. 1556 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ สายด่วน กสทช. 1200
มาร่วมปกป้องสิทธิของผู็บริโภคสื่อ ป้องกันสื่อไม่สร้างสรรค์ โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงด้วยกัน