การเฝ้าระวังโฆษณาผิดกฏหมายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทำอย่างไรได้บ้าง?

การเฝ้าระวังโฆษณาผิดกฏหมาย ผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ทำอย่างไรได้บ้าง?
ถ้าเจอโฆษณาเครื่องรางของขลัง เน้นพลังเหนือธรรมชาติ บอกสรรพคุณเกินจริง เชิญชวน จูงใจโดยใช้ความเชื่ออย่างงมงาน หรือความศรัทธาของบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยหลักเหตุผลให้หลงเชื่อผ่านสื่ออย่างงมงาย หรือความศรัทธาของบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยหลักเหตุผลให้หลงเชื่อผ่านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ เราในฐานะผู้บริโภคสื่อสามารถมีส่วมร่วมในการติดตามเฝ้าระวังและร้องเรียนได้ เพราะถือเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคเข้าข่ายผิดกฎหมายตามประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555

ตัวอย่างการนำเสนอข้อความที่เข้าข่ายผิดกฏหมาย
• ตั้งแต่บูชาปี่เซียะแล้วชีวิตดีขึ้น เสริมความมั่นคง มั่งคั่ง เรียกทรัพย์ เงินทองไหลมาเทมา ได้เลื่อนตำแหน่ง ทำมาค้าขายดีขึ้น เสริมออร่า
• พกตะกรุดทองคำติดตัว ทำให้แคล้วคลาด ปลอดภัย คงกระพันชาตรี ป้องกันภยันตราย ภัยพิบัติต่างๆได้
• ลิปมันผสมสีผึ่งปลุกเสก ให้แล้วเมตตามหานิยม คนรัก คนหลง พูดจามีคนเชื่อถือ พูดอะไรใครก็เชื่อ ตั้งแต่ใช้ลูกค้าอุดหนุนมากกว่าเดิม
• พอได้มานะ ตั้งจิตอธิษฐานขอให้ขายของได้ เก็บเงินได้ หลังจากนั้นเชื่อไหม วันละหมื่น สองหมื่น จนตอนนี้ทำไม่ทัน องค์เทพสุดยอดจริงๆ
• เช่าองคฺเทพมา ค้าขายดีขึ้น กิจการดีขึ้น เก็บเงินได้ มีโชคลาภ ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ชีวิตหมดหนี้หมดสิน ร่ำรวยขึ้น มีแต่คนนับหน้าถือตา
• พอได้องค์เทพมาอยู่กับตัว คือแบบชีวติดีขึ้นมาก สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตตลอดเวลา หมดหนี้ หมดสิน

ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการร้องเรียน
• ชื่อช่องรายการ
• ชื่อนิติบุคคลหรือชื่อผู้รับใบอนุญาต(ถ้าทราบ)
• คลื่นความถี่
• วัน เดือน ปี ที่ออกอากาศ
• ชื่อรายการหรือชื่อผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายกระทำผิดตามกฏหมาย
• เนื้อหาโฆษณาที่พบ (ข้อความต่างๆ)

หากพบเจอการโฆษณาที่มีเนื้อหาผิดกฏหมายดังเช่นตัวอย่างดังกล่าว สามารถแจ้ง กสทช. 1200
มาร่วมปกป้องสิทธิของผู้บริโภคสื่อ ป้องกันสื่อไม่สร้างสรรค์ โฆษณาหลอกลวงเกินจริงด้วยกัน