สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม จัดการสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมเเละคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ เปิดประเดิมยกระดับเเกนนำ 24 จังหวัด สร้างพลังการมีส่วนร่วมภาคประชาชน

สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม จัดการสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมเเละคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ระหว่างวันที่ 2 - 3 กันยายน 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร โดยมีนางสาวรุ้งตะวัน จินดาวัลย์ ผู้อำนวยการสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. กล่าวเปิด เเละนางจริญญา จักรกาย ผู้อำนวยการกองเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต้อนรับ

ในการจัดสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับเเกนนำเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ เเละกิจการโทรคมนาคม และสามารถถ่ายทอดส่งต่อองค์ความรู้ให้ประชาชนสามารถเข้าถึง เข้าใจ เเละใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้เข้าร่วมเป็นแกนนำจาก 24 จังหวัด จาก 4 ภูมิภาคที่ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงาน กสทช. เเละกระทรวงวัฒนธรรม โดยจะมีบทบาทในการขับเคลื่อนเเละประสานงานกับเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ต่อไป

ภายในการสัมมนาฯ มีการบรรยายเเละการเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
ฐานการเรียนรู้สื่อแบบไหน ใครรู้บ้าง? โดย ผศ.ดร.ณัฐพงค์ แย้มเจริญ
ฐานการเรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) และพื้นฐานความรู้ด้านสิทธิ โดย ดร.สังกมา สารวัตร เเละ ผศ.ดร.ปะการัง ชื่นจิตร
ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ โดย ผศ.พิมพ์ณัฐชยา สัจจาศิลป์
ฐานการเรียนรู้ SLVR (SEX, Langguage, Violence, Representation) การตระหนักรู้ในคุณค่าตัวเอง โดย ดร.กรกช เเสนจิตร
ฐานการเรียนรู้การเข้าถึง เข้าใจ เข้าร่วม มาตรฐานเเละเเนวทางการเเก้ไขปัญหา โดย ผศ.ดร.ณัฐพงค์ แย้มเจริญ

นอกจากนี้ ยังมีการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนร้องเรียน และแบบบันทึกการเฝ้าระวัง โดย ผศ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม และนางราตรี จุลคีรี ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมเเละพัฒนาความเข้มเเข็งของผู้บริโภค สำนักงาน กสทช. ซึ่งภายในเนื้อหามีการให้เเกนนำผู้ประสานงานจาก 24 จังหวัด ได้ร่วมกัน Check List ฝึกในการบันทึกการเฝ้าระวัง เพื่อสร้างประสบการณ์เเละสามารถส่งต่อข้อมูลวิธีการเฝ้าระวังเเก่เครือข่ายในระดับพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง เเละครบถ้วนต่อไป

   

ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม : กดที่นี่