รู้เท่าทันการโฆษณายาในสื่อวิทยุ – โทรทัศน์

การโฆษณายาในสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ : รู้หรือไม่ การโฆษณายาที่โอ้อวดเกินจริงอ้างสรรพคุณว่ายารักษาได้ทุกโรค จงใจทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่าสามารถบำบัดโรคร้ายได้นั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 88 มาตรา 89 มาตรา 90 และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง โรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณายาว่าสามารถบำบัดบรรเทารักษาหรือป้องกัน (ตาม มาตรา 77 แห่ง พ.ร.บ. ยา พ.ศ 2510) และถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโกคเข้าข่ายผิดกฎหมายตามประกาศ กสทช. การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2555 อีกด้วย ดังนั้น อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่เกินจริง ควรปรึกษาแพทย์เภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ยาเสมอ"

ตัวอย่างลักษณะข้อความโฆษณาผิดกฎหมาย : ถ้ามีอาการยังว่ากินยา AAA หายปวดเซาจั๊งบัด ยา AAA โฉมใหม่ ช่วยอาการ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดหลัง ปวดนำข้อ เจ็บคิง คั่นเนื้อคั่นตัว เส้นเอ็นตึง ให้นึกถึงยา AAA ... ยา AAA กินแล้วจะเปลี่ยนไปคือลุงดี ลุงดีเปลี่ยนไปก็ย้อนซื้อยา AAA มากินเด้อ ยา AAA ของเขาดีฮู้บ่ หน้าไหนก็แล้วแต่ก็ซื้อยา AAA มากินก็จะหาย ปวดตามร่างกาย

ผลการพิจารณากฎหมาย : เป็นการโอ้อวดสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือความเจ็บป่วยอย่าง ศักดิ์สิทธิ์หรือหายขาด ฝ่าฝืน มาตรา 88 (1) พ.ร.บ. 2510 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2555 ข้อ 5 (1) และ ข้อ 5 (2) มีรายละเอียดดังนี้ : ประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ข้อ 5 (1) การออกอากาศรายการหรือการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยว่า เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2555 ข้อ ข้อ 5(2) การออกอากาศรายการหรือการโฆษณาที่มีเนื้อหาสาระในลักษณะ เป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการหรือสินค้าโดยหลอกลวงหรือกระทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในสาระสำคัญเกี่ยวกับบริการหรือสินค้านั้น หรือโดยการใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือข้อมูล อันไม่เป็นความจริง หรือเกินความจริง เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 88 ขายยาจะต้อง :
1) ไม่เป็นการโอ้อวดสรรพคุณยาหรือวัตถุอันเป็นส่วนประกอบของยาว่า สามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือการโฆษณา ป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ หรือหายขาดหรือใช้ถ้อยคำอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกัน
2) ไม่แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง
3) ไม่ทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดเป็นตัวยาหรือเป็นส่วนประกอบของยา ซึ่งความจริงไม่มีวัตถุหรือส่วนประกอบนั้นในยา หรือมีแต่ไม่เท่าที่ทำให้เข้าใจ
4) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำให้แท้งลูกหรือยาขับระดูอย่างแรง
5) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกามหรือยาคุมกำเนิด
6) ไม่แสดงสรรพคุณยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ
7) ไม่มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น
ไม่แสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัดบรรเทารักษาหรือป้องกันโรคหรืออาการของโรคที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 77

พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 89 : ห้ามมิให้โฆษณาขายยาโดยไม่สุภาพหรือโดยการร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย

พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 90 : ห้ามมิให้โฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพกหรือออกสลากรางวัล ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง โรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณายาว่าสามารถบำบัดบรรเทา รักษาหรือป้องกัน (ตามมาตรา 77 แห่ง พ.ร.บ. ยา พ.ศ.2510) กำหนดให้โรคดังนี้ ห้ามโฆษณายาว่า
• โรคเบาหวาน
• โรคหรืออาการของโรคสมอง หัวใจ ปอด ตับ ม้ามไต
• โรคมะเร็ง
• โรควัณโรค
• โรคเรื้อน

หากพบโฆษณายาเกินจริงผ่านสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ สามารถแจ้งร้องเรียน ได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงาน กสทช. Call center 1200

อ่่านเพิ่มเติมได้ที่ : กดที่นี่