รู้เท่าทันข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน

7 จุดสังเกต : ประเภทของข่าวปลอมนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะสามารถรับมือกับข่าวปลอมอย่างรู้เท่ากัน
1. การเสียดสีหรือล้อเลียนไม่มีเจตนาร้ายแต่หลอกให้หลงเชื่อ
2. เนื้อหาที่ทำให้เข้าใจผิดการสร้างเนื้อหาโดยจูงใจให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหรือบุคคล
3. เนื้อหาที่แอบอ้าง แหล่งข้อมูลต้นฉบับถูกนำไปใช้แอบอ้าง เช่น เขียนข่าวขึ้นมาเอง และอ้างแหล่งข่าว
4. เนื้อหาที่สร้างขึ้นเนื้อหาที่สร้างขึ้นใหม่เป็นเท็จทั้งหมด สร้างขึ้นเพื่อหลอกลวงให้เกิดผลร้าย
5. การเชื่อมโยงที่มั่วพาดหัว ภาพ คำบรรยายใต้ภาพ ไม่ตรงกับเนื้อหา หรือสองสิ่งไม่เกี่ยวข้องกัน แต่นำมากล่าวถึง หรือเชื่อมโยงในข่าวเดียวกัน
6. บริบทที่เป็นเท็จเนื้อหาต้นฉบับถูกนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลในบริบทอื่น เช่น การนำรูป ข้อความ คำพูด มาใช้พูดอีกเรื่องหนึ่ง
7. เนื้อหาที่ถูกดัดแปลงข้อมูลภาพต้นฉบับ ถูกดัดแปลงเพื่อหลอกลวง เช่นการตัดต่อภาพ เสียง สร้างเนื้อหาเรื่องราว

วิธีการตรวจสอบข่าวลวงข่าวปลอมตรวจสอบแหล่งที่มา
1. อ่านเนื้อหารายละเอียด
2. ตรวจสอบผู้เขียน
3. มีแหล่งอ้างอิง
4. ตรวจสอบวันเวลา
5. เป็นการล้อเลียน หรือเหน็บแนมหรือไม่
6. ตรวจสอบความลำเอียง
7. สอบถามผู้เชี่ยวชาญ

ช่องทางหน่วยงานที่สามารถตรวจสอบข่าวปลอม
เว็บไซต์ : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
Anti-Fake News Center Thailand ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
เว็บไซต์ : โคแฟค ตรวจสอบข่าวลวง https://blog.cofact.org